ตามโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA) ตามแบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT) ข้อ O47 ซึ่งกำหนดให้หน่วยราชการกำหนดวิธีการหรือมาตรการในการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมหรือผลประโยชน์ทับซ้อน ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 หมวด 6 ว่าด้วยการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม และตามแผนปฎิบัติการป้องกันการทุจริต 4 ปี พ.ศ.2561-2564 ของเทศบาลตำบลบ้านซ่อง ซึ่งให้ความสำคัญต่อการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามนโยบายรัฐบาลซึ่งได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐและเพื่อเป็นการยืนยันเจตนารมณ์ของเทศบาลตำบลบ้านซ่อง ในการบริหารราชการอย่างโปร่งใสและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน เทศบาลตำบลบ้านซ่อง จึงกำหนดมาตรการป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวม หรือผลประโยชน์ทับซ้อน ดังนี้
1. กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้บริหาร ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ควบคุม กำกับ ติดตาม การสนับสนุนและขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อป้องกันการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงสอดส่องดูแลเกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนของผู้ใต้บังคับบัญชา
2. กำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรทุกระดับ สอดส่องและร่วมกันป้องกันการกระทำที่เข้าข่ายดังกล่าว ตลอดจนให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ
3. ห้ามมิให้ผู้บริหารและบุคลากรทุกระดับ ดำเนินกิจการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 126 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑๒๖ (๑) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทํากับหน่วยงานของรัฐที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้น ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมีอํานาจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการกํากับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดําเนินคดี
มาตรา ๑๒๖ (๒) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมีอํานาจไม่ว่าโดยตรงหรือ โดยอ้อมในการกํากับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดําเนินคดี เว้นแต่จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจํากัดหรือ บริษัทมหาชนจํากัดไม่เกินจํานวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด
มาตรา ๑๒๖ (๓) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ ราชการส่วนท้องถิ่น อันมีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอน หรือเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือ บริษัทที่รับสัมปทานหรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐซึ่งมีอํานาจไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในการกํากับ ดูแล ควบคุม ตรวจสอบหรือดําเนินคดี เว้นแต่จะเป็นผู้ถือหุ้น ในบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัดไม่เกินจํานวนที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด
มาตรา ๑๒๖ (๔) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจ ของเอกชนซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐที่เจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้น สังกัดอยู่หรือปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ซึ่งโดยสภาพของผลประโยชน์ของธุรกิจของ เอกชนนั้นอาจขัดหรือแย้งต่อประโยชน์ส่วนรวม หรือประโยชน์ทางราชการ หรือกระทบต่อความมีอิสระ ในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐผู้นั้น
ให้นําความในวรรคหนึ่ง มาใช้บังคับกับคู่สมรสของเจ้าพนักงานของรัฐตามวรรคหนึ่งด้วย โดยให้ถือว่าการดําเนินกิจการของคู่สมรสเป็นการดําเนินกิจการของเจ้าพนักงานของรัฐ เว้นแต่เป็นกรณี ที่คู่สมรสนั้นดําเนินการอยู่ก่อนที่เจ้าพนักงานของรัฐจะเข้าดํารงตําแหน่ง
คู่สมรสตามวรรคสองให้หมายความรวมถึงผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสด้วย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนด
4. กำหนดจรรยาบรรณของบุคลากรทุกระดับดังนี้
4.1 การไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการแสวงหาประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น
4.2 การไม่อาศัยโอกาสในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อเรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์ใด ๆ ให้แก่ตนเองและผู้อื่น
4.3 การไม่กระทำใด ๆ อันเกิดการเบียดบังผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินหรือผลประโยชน์อื่นใดในการปฎิบัติงานหรือเกี่ยวข้องกับหน่วยงาน
4.4 การไม่นำข้อมูลความลับของหน่วยงานไปแสวงหาหาประโยชน์ส่วนตัว ประโยชน์ของพวกพ้องและครอบครัว
4.5 การไม่นำเงิน บุคลากร และทรัพย์สินใดๆของหน่วยงานไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น
4.6 การไม่ใช้เวลางานในการแสดวงหาประโยชน์ส่วนตน
4.7 การไม่รับงานและปฎิบัติงานภายนอก ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ขัดแย้งกับหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นการปฎิบัติชั่วคราวหรือถาวร เว้นแต่จะได้รับการอนุญาตเป็นการเฉพาะจากผู้บริหาร
4.8 การไม่นำความสัมพันธ์ส่วนตัว มาประกอบการใช้ดุลยพินิจในการให้คุณให้โทษการพิจารณาตัดสิน อนุมัติโครงการ การดำเนินการจัดซ้อจัดจ้างหรือเป็นเหตุในการเลือกปฎิบัติ
5. กำหนดให้ผู้บริหารและบุคลากรที่มีส่วนได้ส่วนเสียในวาระการประชุมเพื่อพิจารณาออกจากที่ประชุมเป็นการชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาวาระนั้นๆหรือแจ้งต่อที่ประชุมเกี่ยวกับการมีส่วนได้เสียก่อนเริ่มในการประชุมในวาระดังกล่าว ตลอดจนให้บันทึกข้อมูลไว้ในรายงานการประชุม
6. กำหนดให้มีการดำเนินการทางวินัย ทางปกครอง และทางกฎหมาย ตามความเหมาะสมต่อผู้บริหารและบุคลากร ซึ่งถูกตัดสินว่าได้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับการขัดแย้งระหว่างประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม ทั้งในฐานะตัวการหรือผู้สนับสนุนหรือมีการรับรองข้อมูลการมีส่วนได้ส่วนเสียอันเป็นเท็จรวมถึงการเพิกเฉยต่อการกระทำผิด หรือการรับทราบว่ามีการกระทำความผิดแต่ไม่ดำเนินการจัดการให้ถูกต้อง
7. ให้การสนับสนุน ยกย่อง ชมเชยให้รางวัลแก่ผู้บริหารและบุคลากรที่มีความซื่อตรง ซื่อสัตย์ สุจริต มีธรรมมาภิบาลในการปฏิบัติงาน สนับสนุนการขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตและการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับประโยชน์ส่วนรวม
8. การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ต้องสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนและต้องดำเนินการอย่างซื่อสัตย์สุจริต ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้เสียโดยเสมอภาค เท่าเทียมกัน
|