ภาษีป้าย
1. ความรู้ทั่วไป
1.1 ป้ายที่ต้องเสียภาษี
ป้ายที่ต้องเสียภาษีได้แก่ป้ายที่แสดงชื่อ ยี่ห้อหรือเครื่องหมาย ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่น เพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
1.2 ป้ายที่ไม่ต้องเสียภาษี
(1) ป้ายที่แสดงไว้ ณ โรงมหรสพและบริเวณของโรงมหรสพนั้นเพื่อโฆษณามหรสพ
(2) ป้ายที่แสดงไว้ที่สินค้าหรือที่สิ่งหุ้มห่อหรือบรรจุสินค้า
(3) ป้ายที่แสดงไว้ในบริเวณงานที่จัดขึ้นเป็นครั้งคราว
(4) ป้ายที่แสดงไว้ที่คนหรือสัตว์
(5) ป้ายที่แสดงไว้ภายในอาคารที่ใช้ประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นหรือภายในอาคารซึ่งเป็นที่รโหฐาน ทั้งนี้ เพื่อหารายได้ และแต่ละป้ายมีพื้นที่ไม่เกิน 3 ตารางเมตรที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ไม่รวมถึงป้ายตามกฎหมายว่าด้วยทะเบียนพาณิชย์
(6) ป้ายของราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
(7) ป้ายขององค์การที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาลหรือตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ๆ และหน่วยงานที่นำรายได้ส่งรัฐ
(8) ป้ายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการสหกรณ์ และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(9) ป้ายของโรงเรียนเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่แสดงไว้ ณ อาคารหรือบริเวณของโรงเรียนเอกชน หรือสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนนั้น
(10) ป้ายของผู้ประกอบการเกษตรซึ่งค้าผลผลิตอันเกิดจากการเกษตรของตน
(11) ป้ายของวัดหรือผู้ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการกุศลสาธารณะโดยเฉพาะ
(12) ป้ายของสมาคมหรือมูลนิธิ
(13) ป้ายตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ปัจจุบันมีฉบับที่ 2) กฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2535) ให้เจ้าของป้ายไม่ต้องเสียภาษีป้าย สำหรับ
(ก) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ รถบดถนนหรือรถแทรกเตอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
(ข) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ล้อเลื่อน ตามกฎหมายว่าด้วยล้อเลื่อน
(ค) ป้ายที่ติดตั้งหรือแสดงไว้ที่ยานพาหนะนอกเหนือจาก (ก) และ (ข) โดยมีพื้นที่ไม่เกินห้าร้อยตารางเซนติเมตร
1.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษี
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายคือ เจ้าของป้าย แต่ในกรณีที่ปรากฏแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าไม่มีผู้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย (ภ.ป.1) สำหรับป้ายใด เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจหาตัวเจ้าของป้ายนั้นได้ให้ถือว่าผู้ครอบครองป้ายนั้นเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้าย ถ้าไม่อาจหาตัวผู้ครอบครองป้ายนั้นได้ให้ถือว่าเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือที่ดินที่ป้ายนั้นติดตั้งหรือแสดงอยู่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีป้ายตามลำดับและให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งการประเมินภาษีเป็นหนังสือไปยังบุคคลดังกล่าว
รายละเอียดเพิ่มเติมตามเอกสารแนบ
ภาษีป้ายอัตราใหม่
กำหนดให้อัตราภาษีป้ายมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเพื่อให้การจัดเก็บภาษีป้ายเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพและพัฒนาการหารายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
1. ให้ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510
2. ให้กำหนดอัตราภาษีป้ายดังต่อไปนี้
อัตราภาษีป้าย
ตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษีป้าย 2563
ลำดับที่
|
ประเภท
|
ลักษณะเฉพาะป้าย
|
อัตราต่อ
500 ตร.ซม
|
1
|
ประเภท ที่ 1 อักษรไทยล้วน
|
ข้อความที่เคลื่อนที่ได้/เปลี่ยนได้
|
10 บาท
|
ข้อความไม่เคลื่อนที่/เปลี่ยนไม่ได้
|
5 บาท
|
2
|
ประเภทที่ 2 อักษรไทยปนกับภาษาต่างประเทศ/รูปภาพ/เครื่องหมาย
|
ข้อความที่เคลื่อนที่ได้/เปลี่ยนได้
|
52 บาท
|
ข้อความไม่เคลื่อนที่/เปลี่ยนไม่ได้
|
26 บาท
|
3
|
ประเภทที่ 3 ไม่มีอักษรไทย/อักษรไทยอยู่ต่ำกว่าภาษาต่างประเทศบางส่วน
|
ข้อความที่เคลื่อนที่ได้/เปลี่ยนได้
|
52 บาท
|
ข้อความไม่เคลื่อนที่/เปลี่ยนไม่ได้
|
50 บาท
|
ตัวอย่างการคำนวณ
โจทย์ นาย ก. ติดตั้งป้ายมีข้อความอักษรไทยล้วน ขนาด 120 x 240 ซม.
ลำดับ
|
วิธีการ
|
คำอธิบาย
|
1
|
120 x 240 = 28,800
|
กว้าง X ยาว
|
2
|
29,000
|
เศษไม่ถึงครึ่งของ 500 ปัดทิ้ง เกินกึ่งหนึ่งให้ปัดขึ้น
|
3
|
29, 000 ÷ 500 = 58
|
หารด้วย 500 ตารางเซนติเมตร
|
4
|
58 x 5 = 290
|
นำค่าที่ได้ คูณอัตราภาษี ในที่นี้เป็นป้ายประเภท 1 ไม่เคลื่อนที่อัตรา 5 บาท
|
5
|
290 บาท
|
อัตราภาษีที่ต้องชำระ
|
- หมายเหตุ ป้ายทุกประเภทหากคำนวณแล้วไม่ถึง 200 บาท ให้เก็บขั้นต่ำ 200 บาท
|